เมนู

สึกไปเท่านี้ วานนี้สึกไปเท่านี้ วานซืนนี้สึกไปเท่านี้ มีความรู้แต่เพียงว่า
ด้ามมีดนั้นสึก ๆ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบเนือง ๆ
ซึ่งภาวนานุโยคอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงแม้จะไม่มีความรู้อย่างนี้ว่า
วันนี้ อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปเท่านี้ วานนี้สิ้นไปเท่านี้ วานซืนนี้
สิ้นไปเท่านี้ ก็จริง แต่เธอก็รู้ว่าสิ้นไปแล้ว ๆ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
เรือเดินสมุทร ที่เขาผูกด้วยเชือกผูกคือหวาย แช่อยู่ในน้ำ 6 เดือน
ในฤดูหนาว ลากขึ้นบก เชือกคือหวาย ที่ถูกลมและแดดพัดเผา ถูก
เมฆฝนตกชะรด ก็จะเปื่อยผุไป โดยไม่ยากฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุประกอบเนือง ๆ ซึ่งภาวนานุโยคอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
สัญโญชน์ก็จะเสื่อมสิ้นไปโดยไม่ยากเลย.
จบ นาวาสูตรที่ 9

อรรถกถานาวาสูตรที่ 9



พึงทราบวินิจฉัยในนาวาสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว กุกฺกุฏิยา อณฺฑานิ ความว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสอุปมา 2 ข้อนี้ไว้ ด้วยอำนาจธรรมที่เป็นฝ่ายดำ และ
ฝ่ายขาว1. บรรดาอุปมา 2 ข้อนั้น อุปมาว่าด้วยธรรมที่เป็นฝ่ายดำ
ยังไม่ให้สำเร็จประโยชน์ (แต่) อุปมาว่าด้วยธรรมที่เป็นฝ่ายขาว
นอกนี้ทำให้สำเร็จประโยชน์ได้แล. พึงทราบเนื้อความของอุปมา
ว่าด้วยธรรมฝ่ายขาว2 อย่างนี้.
บทว่า เสยฺยถา เป็นนิบาต ใช้ในความหมายเป็นข้ออุปมา.
1 ปาฐะว่า คณฺหปกฺขสุกฺขปกฺขวเสน ฉบับพม่าเป็น กณฺหปกฺขสุกฺกปกฺขวเสน แปลตามฉบับพม่า.
2. ปาฐะว่า สุกฺขปกฺขอุปมาย ฉบับพม่าเป็น สุกฺกปกฺขอุปมาย แปลตามฉบับพม่า.

บทว่า อปิ1 ใช้ในความหมายว่า ส่งเสริม. ด้วยบททั้งสอง
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงว่า เสยฺยถาปิ นาม ภิกฺขเว.
ก็ในบทนี้ว่า กุกฺกุฏิยา อณฺฑานิ อฏฺฐ วา ทส วา ทฺวาทส วา มี
อธิบายว่า ฟองไข่ของแม่ไก่ ขาดไปบ้าง เกินไปบ้าง จากจำนวนมี
ประการดังกล่าวแล้ว ก็จริง ถึงกระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้
อย่างนั้น เพราะด้วยคำสละสลวยดี และด้วยคำที่สละสลวยในโลกก็มี
อยู่อย่างนี้.
บทว่า ตานสฺสุ ตัดบทเป็น ตานิ อสฺสุ. (อสฺสุ) คือ ภเวยฺยุํ แปลว่า
ฟองไข่เหล่านั้น พึงมี.
บทว่า กุกฺกุฏิยา สมฺมาอธิสยิตานิ ความว่า ฟองไข่เหล่านั้น
อันไก่ตัวเมียที่เป็นแม่ กางปีกออกแล้วนอนทับอยู่บนฟองไข่เหล่านั้น
ชื่อว่า นอนทับด้วยดี.
บทว่า สมฺมาปริเสทิตานิ ความว่า ฟองไข่ทั้งหลายที่แม่ไก่
ให้ได้รับไออุ่นตามกาลอันสมควร ชื่อว่ากก คือ ทำให้อบอุ่นด้วยดี
คือ ทั่วถึง.
บทว่า สมฺมาปริภาวิตานิ ความว่า ฟองไข่ทั้ง หลายอันแม่ไก่ฟัก
ด้วยดี คือ ทั่วถึงตามกาลอันสมควร อธิบายว่า ให้กลิ่นพ่อไก่จับ
บทว่า กิญฺจาปิ ตสฺสา กุกฺกุฏิยา ความว่า แม่ไก่ตัวนั้นทำความ
ไม่ประมาทด้วยการทำกิริยา 3 อย่างนี้แล้ว จะไม่เกิดความปรารถนา
อย่างนี้แม้ก็จริง.
บทว่า อถ โข ภพฺพาว เต ความว่า ถึงกระนั้น ลูกไก่เหล่านั้น
ก็สามารถที่จะเจาะ (ฟองไข่) ออกมาได้โดยสวัสดี ตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว.
1 ปาฐะว่า ปีติสมฺภาวนตฺเถ ฉบับพม่าเป็น อปีติ สมฺภาวนตฺเถ แปลตามฉบับพม่า

ก็เพราะเหตุที่ฟองไข่เหล่านั้นอันแม่ไก่ตัวนั้นบริบาลอยู่
โดยอาการ 3 อย่าง อย่างนี้จึงไม่เสีย และน้ำเมือกของฟองไข่เหล่านั้น
ก็เหือดแห้งไป เปลือกไข่บางปลายเล็บเท้าและจะงอยปากเริ่มแข็ง
แก่กล้าไปเอง เพราะเปลือกไข่บาง แสงสว่างจากข้างนอกจึงปรากฏ
เข้าไปถึงข้างใน ฉะนั้น ลูกไก่เหล่านั้น จึงอยากจะออกมา (ข้างนอก)
ด้วยคิดว่า เรานอนตัวงออยู่ในที่แคบมานานแล้วหนอ และแสงสว่าง
ข้างนอกนี้ ก็ปรากฏอยู่ บัดนี้เราทั้งหลายจักอยู่อย่างสุขสบายในที่นี้แหละ
ดังนี้แล้ว เอาเท้ากระเทาะเปลือกไข่ ยื่นคอออกมา ครั้นแล้วเปลือกไข่นั้น
ก็จะแตกออกเป็น 2 ซีก ทีนั้นลูกไก่เหล่านั้นก็จะออกมาสลัดปีกส่งเสียง
ร้องเจี๊ยบ ๆ และครั้นออกมาแล้วก็จะเที่ยว (หากิน) ไป ทำให้คามเขตดู
สวยงาม.
บทว่า เอวเมว โข นี้เป็นบทรับรองข้ออุปมา บทรับรองข้ออุปมา
นั้นพึงทราบเทียบเคียงกับความหมายอย่างนี้. อธิบายว่า เวลาที่ภิกษุนี้
ประกอบการบำเพ็ญภาวนาพึงทราบว่า เปรียบเหมือนการที่แม่ไก่นั้น
ทำกิริยา 3 อย่างในฟองไข่.
ความที่วิปัสสนาญาณของภิกษุผู้ประกอบการบำเพ็ญภาวนา
ไม่เสื่อมเพราะทำอนุปัสสนา 3 อย่างให้ถึงพร้อม พึงทราบว่าเปรียบ
เหมือนภาวะที่ฟองไข่ไม่เน่า เพราะแม่ไก่ทำกิริยา 3 อย่างให้ถึงพร้อม
การที่ความสิเนหาคือความใคร่ใจที่ติดอยู่ในภพทั้ง 3 ของ
ภิกษุนั้นสิ้นไปเพราะทำอนุปัสสนา 3 อย่างให้ถึงพร้อม พึงทราบว่า
เปรียบเหมือนการที่ยางเหนียวของฟองไข่ทั้งหลายสิ้นไปเพราะแม่ไก่
นั้นทำกิริยา 3 อย่าง.
การที่กะเปาะฟองไข่คืออวิชชาของภิกษุบาง พึงทราบว่า

เปรียบเหมือนการที่เปลือกฟองไข่บาง
การที่วิปัสสนาญาณของภิกษุกล้าแข็ง ผ่องใส และแกล้วกล้า
พึงทราบว่า เปรียบเหมือนการที่ปลายเล็บเท้า และจะงอยปากของ
ลูกไก่ทั้งหลายกล้าแข็ง.
เวลาที่วิปัสสนาญาณของภิกษุแก่กล้า เจริญได้ที่ พึงทราบว่า
เปรียบเหมือนเวลาที่ลูกไก่ทั้งหลายเจริญขึ้น.
เวลาที่ภิกษุนั้น ถือเอาวิปัสสนาญาณได้แล้ว เที่ยว (จาริก) ไป
ได้ฤดูเป็นสัปปายะ โภชนะเป็นสัปปายะ บุคคลเป็นสัปปายะ หรือ
การฟังธรรมเป็นสัปปายะ อันเกิดแต่วิปัสสนาญาณนั้น แล้วนั่งอยู่บน
อาสนะเดียวนั่นแล เจริญวิปัสสนา ทำลายกะเปาะฟองคืออวิชชาด้วย
อรหัตตมรรคที่บรรลุแล้วตามลำดับ ปรบปีกคืออภิญญา แล้วสำเร็จเป็น
พระอรหันต์โดยสวัสดี พึงทราบว่า เปรียบเหมือนเวลาลูกไก่ เอา
ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปาก กะเทาะกะเปาะฟองไข่ กระพือปีก
แหวกออกมาได้โดยสวัสดี.
อนึ่ง เปรียบเหมือนว่า แม่ไก่ทราบว่า ลูกไก่ เติบโตเต็มที่แล้ว
จึงจิกกะเปาะฟองไข่ฉันใด ฝ่ายพระศาสดาก็ฉันนั้น ทรงทราบว่า
ญาณของภิกษุเห็นปานนั้น แก่เต็มที่แล้ว ก็ทรงแผ่แสงสว่างไป แล้ว
ทำลายกะเปาะฟองไข่คืออวิชชา ด้วยคาถาโดยนัยเป็นต้นว่า :-
จงถอนความเสน่หาของตนขึ้นเสียเถิด
ให้เหมือนกับ ถอนดอกโกมุท ที่บานในฤดูสารทกาล
ด้วยมือของตนฉะนั้น ขอเธอจงเพิ่มพูลทางแห่ง
สันติเถิด พระนิพพาน พระสุคตเจ้า ทรงแสดง
ไว้แล้ว.

เวลาจบคาถา ภิกษุนั้นทำลายกะเปาะฟองคืออวิชชาแล้ว ได้
สำเร็จเป็นพระอรหันต์. ตั้งแต่นั้นมา พระมหาขีณาสพแม้นี้ ก็เข้า
ผลสมาบัติที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วท่องเที่ยวไป ทำให้สังฆาราม
งดงาม เปรียบเหมือนลูกไก่เหล่านั้นท่องเที่ยวไปทำให้คามเขต
งดงามฉะนั้น.
บทว่า ผลภณฺฑสฺส ได้แก่ ช่างไม้. จริงอยู่ ช่างไม้นั้น เรียกกันว่า
ผลภัณฑะ เพราะตีเส้นบันทัด คือ โอสมนกะ แล้วเปิดปีกไม้ออกไป.
บทว่า วาสิชเฏ ได้แก่ ที่สำหรับจับของมีดที่มีด้าม.
บทว่า เอตฺตกํ วา เม อชฺช อาสวานํ ขีณํ มีอธิบายว่า ก็อาสวะ
ทั้งหลายของบรรพชิต สิ้นอยู่เป็นนิตย์ เพราะอุทเทส เพราะปริปุจฉา
เพราะการทำไว้ในใจโดยแยบคาย และเพราะวัตตปฏิบัติ โดยสังเขปคือ
การบรรพชา. และเมื่ออาสวะเหล่านั้นกำลังสิ้นไปอยู่อย่างนี้ ท่านไม่รู้
อย่างนี้ดอกว่า วันนี้สิ้นไปเท่านี้ เมื่อวานสิ้นไปเท่านี้ เมื่อวานซืน
สิ้นไปเท่านี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอานิสงส์ของวิปัสสนาไว้
ด้วยอุปมานี้.
บทว่า เหมนฺติเกน ได้แก่ โดยสมัยแห่งเหมันตฤดู.
บทว่า ปฏิปสฺสมฺภนฺติ ได้แก่ เครื่องผูกคือหวายทั้งหลายย่อม
เสื่อมสิ้นไปเพราะชราภาพ.
ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความ
ที่สังโยชน์หย่อนกำลังลงด้วยอุปมานี้ว่า :-
ศาสนาพึงเห็นว่า เปรียบเหมือนมหาสมุทร
พระโยคาวจรพึงเห็นว่า เปรียบเหมือนเรือ.

การที่ภิกษุนี้ท่องเที่ยวไปในสำนักอุปัชฌาย์อาจารย์ในเวลา
ที่มีพรรษายังไม่ครบ 5 พึงเห็นว่า เปรียบเหมือนการที่เรือลอยวน
อยู่ในทะเลหลวง.
ความที่สังโยชน์ทั้งหลายของภิกษุเบาบางลง เพราะอุเทศ และ
ปริปุจฉา เป็นต้น นั่นเอง1 โดยสังเขปก็ได้แก่บรรพชา พึงเห็นว่า เปรียบ
เหมือนการที่เชือกผูกเรือถูกน้ำในทะเลหลวงกัดกร่อนจนบาง.
เวลาที่ภิกษุผู้เป็นนิสัยมุตตกะเรียนกรรมฐานแล้ว (ไป) อยู่ในป่า
พึงเห็นว่า เปรียบเหมือนเวลาที่เรือถูกยกวางไว้บนบก.
การที่เสน่หาคือตัณหาเหือดแห้งไปเพราะวิปัสสนาญาณ พึงเห็น
ว่า เปรียบเหมือนเชือกผูกเรือแห้ง เพราะถูกลมและแดดในตอนกลางวัน.
การที่จิตชุ่มชื่น เพราะปีติ และปราโมทย์ อันอาศัยกรรมฐาน
เกิดขึ้น พึงเห็นว่า เปรียบเหมือนการที่เรือชุ่มชื้น เพราะถูกน้ำอันเกิด
จากน้ำค้าง ในตอนกลางคืน.
การที่ภิกษุได้ฤดูเป็นสัปปายะเป็นต้นในวันหนึ่ง ในวิปัสสนาญาณ-
กรรมฐาน แล้วมีสังโยชน์เบาบางลงมากมาย เพราะปีติและปราโมทย์
อันเกิดแต่วิปัสสนาญาณ2 พึงเห็นว่า เปรียบเหมือนเครื่องผูก (เรือ) แห้ง
ใน ตอนกลางวัน เพราะถูกลมและแดด และเปียกชื้นในตอนกลางคืน
เพราะน้ำเกิดจากน้ำค้าง.
อรหัตตมรรคญาณ พึงเห็นว่า เปรียบเหมือนเมฆฝน.
1. ปาฐะว่า เจว น่าจะเป็น เอว
2. ปาฐะว่า เอกา ปีติปามุชฺเชหิ ฉบับพม่าเป็น วิปสฺสนาญาณปีติปาโมชฺเชหิ แปลตามฉบับพม่า.

การที่ภิกษุผู้เริ่มเรียนวิปัสสนากรรมฐาน แล้วเจริญวิปัสสนา
โดยเป็นรูปสัตตกะ (หมวด 7 แห่งรูป) เป็นต้น เมื่อกรรมฐานแจ่มชัด ๆ
เข้า วันหนึ่งได้ฤดูเป็นสัปปายะเป็นต้น นั่งขัดสมาธิครั้งเดียว (ไม่ลุกขึ้นอีก)
แล้วได้บรรลุอรหัตตผล พึงเห็นว่า เปรียบเหมือนการที่เรือมีน้ำฝนเต็มลำ.
การที่ภิกษุนั้น สิ้นสังโยชน์แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ยังไม่ได้
อนุเคราะห์มหาชน ดำรงอยู่ตราบอายุขัย พึงเห็นว่าเปรียบเหมือนการ
ที่เรือซึ่งมีเชือกผูกเปื่อย แต่ก็ยังจอดอยู่ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง.
เวลาที่พระขีณาสพปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
โดยการขัดสมาธิครั้งเดียว เพราะอุปาทินนกขันธ์แตกสลายไป (กิเลส
สิ้นแล้ว ปรินิพพานทันที) แล้วเข้าถึงความเป็นผู้หาบัญญัติมิได้ พึงเห็น
ว่า เปรียบเหมือนเวลาที่เรือมีเชือกผูกเปื่อย กร่อนขาดไปทีละน้อย
จนเข้าถึงความเป็นสภาพหาบัญญัติมิได้ (จนเรียกว่าเชือกไม่ได้).
จบ อรรถกถานาวาสูตรที่ 9

10. สัญญาสูตร



ว่าด้วยการเจริญอนิจจสัญญา



[263] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา
ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ครอบงำ
ภวราคะทั้งปวงได้ ครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ จะถอน อัสมิมานะ
ทั้งปวงขึ้นได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัย ชาวนา เมื่อจะใช้ไถไหญ่
ไถนา ก็จะไถดะรากไม้ ที่แตกยื่นออกไป ทั้งหมดเสีย แม้ฉันใด ภิกษุ
ทั้งหลาย อนิจจสัญญา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มาก